Skip links

“สมรสเท่าเทียม” ในมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening

ท่ามกลางการเรียกร้องของคนไทยในเรื่องของ “การสมรสเท่าเทียม” ที่อยากให้เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายสักที การที่คนออกมาเรียกร้องกันนั้นไม่ใช่แค่เพียงใบจดทะเบียนสมรสอย่างเดียว มันรวมถึงสิทธิทางกฎหมายอีกหลายอย่าง เช่น สิทธิรับมรดก สิทธิการกู้ร่วม และอื่น ๆ แต่นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสมอภาค และความก้าวหน้าของสังคมไทยเช่นกัน

Real Smart ได้รวบรวมข้อมูลผ่าน Social Listening ทั้งในส่วนของมุมมอง ความคิดเห็น ความรู้สึกของคนไทย และเจาะลึกลงในประเด็นที่ได้รับความสนใจที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียทั้งหมด มาเริ่มต้นกันที่ Timeline กันก่อน

ประเด็นสมรสเท่าเทียมเริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 หลังจากที่ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในรัฐสภาฯ และทาง ครม. ได้ขอนำร่างไปศึกษาก่อนจะมีการลงมติวาระหน้า ทำให้มีผู้ Tweet ว่าสมรสเท่าเทียมนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ใครคนนึงจะรักใครสักคนได้ กฎหมายที่มีอยู่นั้นล้าหลัง ต้องทำปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น เพื่อตอบรับความหลากหลายของมนุษย์ 

ต่อมากราฟขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ Tweet รูปถ่ายเกี่ยวกับคำพูดที่ว่า “ที่ไม่สมรสเท่าเทียม เพราะเห็นคนไม่เท่ากัน?” ทำให้ได้รับความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว หลังจากนั้นกราฟเริ่มค่อยลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นกราฟได้ดีดตัวพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักที่คู่รักหลายคู่ออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ การจดทะเบียนสมรส ได้มี Facebook page ของสำนักข่าวดังอย่าง สำนักข่าวไทย PPTV HD และเพจอื่น ๆ โพสต์ถึงกิจกรรมสำนักงานเขตบางขุนเทียนได้เปิดจุดจดทะเบียนสมรสให้คู่รักชายหญิง รวมถึง LGBTQ+ ให้สามารถเข้ามาจดทะเบียนได้เช่นกัน โดยไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ เหมือนทะเบียนสมรส และกราฟเริ่มตกลงในวันเดียวกัน

เกิดประเด็นการพูดถึงอีกครั้งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มี Facebook page : Young Pride Club และสำนักข่าว Voice TV – Talking Thailand ได้โพสต์ถึงเหตุการณ์ที่นักเรียนของโรงเรียนชื่อดังในจังหวัดลำพูนออกมาทำแคมเปญ #โบกธงรุ้งทั่วลำพูน รณรงค์ความเท่าเทียมในการจดทะเบียนของทุกเพศ แต่ได้มีรายงานว่า นักเรียนกลุ่มนั้นได้ถูกคุกคามภายในโรงเรียน เนื่องจากทาง ผอ. โรงเรียนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในสถานศึกษา รวมถึงการใส่ชุดนักเรียนในการทำกิจกรรม ทำให้เป็นที่พูดถึงในโซเชียลพอสมควร

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 กราฟยังคงลดลงอยู่ และได้มี Facebook page : The MATTER โพสต์วิดีโอสรุปประเด็นทั้งหมดให้ฟังภายใน 5 นาทีถึงการสมรสเท่าเทียมนั้นต้องรออีกนานแค่ไหน? ชายหญิงแต่งงานจดทะเบียนได้ แต่ LGBTQ+ ยังไม่ได้สิทธินั้นสักที ปลายทางของกฎหมายสมรสเท่าเทียมคืออะไร

ต่อมาเรามาดูภาพรวมความรู้สึกของคนไทยในโลกออนไลน์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ในภาพรวมของความรู้สึกหลังจากที่ได้ใช้ Social Listening รวบรวมมานั้นพบว่า Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) ที่สนับสนุนการสมรสเท่าเทียมอยากให้ถูกยอมรับสักที ในส่วนของ Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) ไปในทางสนับสนุนในเรื่องสิทธิของทุกเพศ อยากให้สังคมยอมรับมากขึ้น และ Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) ที่พูดถึงกิจกรรมจดทะเบียนสมรส แต่ไม่มีผลทางกฎหมายก็ไม่ควรจัดขึ้นมา ทีนี้มาเจาะลึกลงไปในแต่ละกลุ่มความรู้สึกกันว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

ในส่วนของ Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 34% ที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม สนับสนุนให้เป็นเรื่องที่ถูกต้องและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่การยอมรับ แต่หมายถึงการเปิดทางไปสู่ความเข้าใจของคนในสังคม

Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 50% บอกว่าอยากให้สังคมไทยยอมรับมากขึ้น ทุกคนมีสิทธิเสรีที่ทุกเพศรักกันได้หมด อยากให้จดทะเบียนสมรสได้ถูกกฎหมายสักที

ส่วน Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 16% มองว่าจัดงานจดทะเบียนสมรสแบบปลอม ๆ ที่ไม่มีผลทางกฎหมายก็ไม่ควรจัดขึ้นมา เพราะ LGBTQ+ ไม่ใช่ตัวตลกของใคร และคนบางกลุ่มมองว่าสังคมไทยไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

ต่อมาเรามาเจาะลึกประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

ข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมมาได้นั้นมีประเด็นหลักที่คนไทยในโซเชียลให้ความสนใจมากที่สุด คือ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม  เมื่อดูจากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่คนไทยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในเชิงสนับสนุนมากกว่า แต่ก็ยังคงมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับสมรสเท่าเทียมอยู่ ทีนี้มาเจาะลึกลงไปในประเด็นนี้ว่าคนไทยคิดเห็นอย่างไรกัน

“พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม”

Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 65% บอกว่าประชาชนเห็นด้วยและสนับสนุนให้มี พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมถูกต้องตามกฎหมายและสามารถใช้งานได้ทันที ส่วน Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 19% ไปในทิศทางบวก ซึ่งมีหลายคนติดตามเกี่ยวกับร่างแก้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และมองว่าศาสนากับกฎหมายควรแยกกัน เพราะสมรสเท่าเทียมคือเรื่องของคนทุกคน แน่นอนย่อมมีคนไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เป็น Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 16%

Top 3 on Facebook Engagement

โดยทั้ง 3 อันดับที่ได้รับ engagement สูงนั้น สังเกตได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม และเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เปิดรับความหลากหลายทางเพศ และมีฐานผู้ติดตามสูงในเพจ

Top 3 on YouTube Engagement

ในส่วนของ YouTube ยังเป็นอีกหนุ่งช่องทางที่คนไทยใช้เสพข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งทั้ง 2 อันดับที่ได้ยอด engagement สูงนั้นเป็นสำนักข่าวชื่อดังระดับประเทศอย่าง Thiarath และ Matichon tv ส่วนอันดับที่ 3 อย่าง THE STANDARD ที่เป็นที่นิยมของกลุ่มคนรุ่นใหม่

Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นสมรสเท่าเทียมมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนจะเป็น #สมรสเท่าเทียม #LGBT #พรรคก้าวไกล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน

ยังคงต้องติดตามกันต่อกับประเด็นสมรสเท่าเทียมกันต่อไปหลังจากมีการเลื่อนการพิจารณาไปอีกครั้ง ซึ่งหลายคนคงอยากให้เกิดขึ้นสักที เพื่อเป็นก้าวสำคัญของประเทศที่มีจะเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ครั้งหน้า Real Smart จะมาใช้ Data เล่าให้ฟังอีก

หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตามเพจกันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น