โครงการกรุงไทยรักชุมชนทั่วไทย
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
เป้าประสงค์
ธนาคารมีวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Growing Together for Sustainability หรือการเติบโตไปพร้อมกับทุกภาคส่วนของสังคมอย่างยั่งยืน และธนาคารได้เชื่อมโยงเรื่อง ESG เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) โดยเชื่อมกรอบการดำเนินธุรกิจเพื่อจะช่วยลดปัญหาความยากจน พัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ทำให้ชุมชน สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ธนาคารกรุงไทย ช่วยแก้ไขปัญหา สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ผ่านโครงการกรุงไทยรักชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ในมิติของ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยใช้กระบวนการการให้ ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคน จะช่วยให้ชุมชนสามารถวางแผนทางการเงิน การใช้จ่าย การออม การวางแผนทางการเงิน ความรู้เกี่ยวกับต้นทุน และรายได้โดยความรู้พื้นฐานด้านการเงินจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการการเงินของตนเอง และหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับหนี้สินได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของธนาคารในการเป็นธนาคารที่ “เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”
กลไก / กระบวนการ
ธนาคารได้ริเริ่มดำเนินโครงการกรุงไทยรักชุมชนทั่วไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งธนาคารมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ให้เกิดความสมดุลมีความเข้มแข็งจากภายใน โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด ร่วมกำหนดแนวทาง และกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน ธนาคารนำจุดแข็งของธนาคาร ทั้งในด้านความรู้ทางด้านการเงิน ผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินไปตอบสนองความต้องการของชุมชน ผ่านการดำเนินงานของสาขาในแต่ละพื้นที่ และการทำงานร่วมกับ Partner ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ในเรื่องการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน สินค้าท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม การตลาด และความรู้ทางการเงิน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• การส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยวสินค้าและบริการในชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว • การสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องมาตรฐานความสะอาด สุขอนามัย • การส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาและขยายตัวของเศรษฐกิจฐานรากของประเทศผ่านการสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน • แก้ปัญหาทางด้านเงินให้กับชุมชน • ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ปีที่เริ่มโครงการ
2562