ผ่าประเด็นการค้ามนุษย์กับมุมมองของโลกโซเชียล
การค้ามนุษย์ นั้นเรียกว่า “ความผิด” ก็ยังน้อยไปเลยกับการนำเอาชีวิตคนอื่นมาใช้แลกเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ให้กับตนเอง โดยที่เหตุการณ์ล่าสุดที่ถูกพูดถึงมากคือ การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา หลังจากการอภิปรายของ คุณรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้กลางรัฐสภา ทำให้เป็นที่สนใจของชาวโซเชียลจำนวนมาก
Real Smart ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ Social Listening มาวิเคราะห์ทั้งในส่วนของความคิดเห็น มุมมอง ความรู้สึก และเจาะลึกประเด็นต่าง ๆ ที่คนไทยในโลกออนไลน์พูดถึงกัน เริ่มต้นกันที่ในส่วนของ Timeline ระหว่างวันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ 2565
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 หลังจากที่ คุณรังสิมันต์ โรม ได้ออกมาพูดถึงประเด็นการค้ามนุษย์โรฮิงญากลางรัฐสภาทำให้คนไทยในโลกออนไลน์เริ่มพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ และกราฟเริ่มขยับตัวในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีผู้ Tweet ถึงเรื่องการค้ามนุษย์ก่อนหน้านี้มีลูกค้าเคยมาซื้อน้ำดื่มที่เขาและได้บอกว่า “หากมีคนที่หลายตัวไปให้ลองไปตามหาที่เรือประมงดู เพราะเขาเคยเป็นหนึ่งในนั้นและรอดออกมาได้” ทำให้มีคน Retweet สูงนับแสนครั้ง
ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 กราฟเริ่มเพิ่มสูงขึ้นและมี Facebook Page : Poetry of Bitch และตุ๊ดส์review ออกมาสรุปเหตุการณ์การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นไล่เลียงทีละประเด็นตั้งแต่ ทลายค่ายกักกัน คนมีสีเกี่ยวข้อง จนถึงคนที่ทำการสืบสวนได้ถูกย้ายตำแหน่ง และได้ทำการลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลีย รวมถึงนักข่าวที่เข้าไปทำข่าวใกล้ชิดกับชาวโรฮิงญา
กราฟได้พุ่งสูงขึ้นอีกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มี Facbook ส่วนตัวออกมาโพสต์ แหกนายรังสิมันต์ โรม ภาค 2 ว่าได้ปลอมแปลงเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และ และมีนักข่าวอย่าง คุณอาร์ท เอกรัฐ โพสต์ถึง พล.ต.ต. ปวีณ ว่าเป็นความภูมิใจของชาวกระทุ่มแบน
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 กราฟเริ่มตกลงและได้มี Facebook Page : The Standard อัปเดตข่าวหลังจากที่นายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน “ประยุทธ์ท้า พล.ต.ต. ปวีณ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ให้กลับมาไทยร้องทุกข์ตามกฎหมาย ไม่เคยไล่ออกนอกประเทศแต่ไปเอง” และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 กราฟยังคงตกลงเรื่อย ๆ ในวันนี้ Facebook Page : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานข่าวว่า นายกฯ ยืนยันแก้ปัญหาค้ามนุษย์เต็มที่ ไม่เคยสั่งใน พล.ต.ต. ปวีณ ลี้ภัย หากไม่ได้รับความเป็นธรรมให้กลับมาร้องเรียน” ซึ่งทั้ง 2 วันที่ผ่านมามีคนไลก์และแชร์โพสต์สูงพอสมควร
สุดท้ายวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ทาง Facebook Page : เรื่องเล่าเช้านี้ โพสต์ข่าวว่า “ปวิตร ทำโชว์หลักฐานชี้เป้าทีมงานเอี่ยวขอประกัน พล.ท. มนัส ในคดีค้ามนุษย์”
ต่อมาเรามาดูภาพรวมความรู้สึกของคนไทยในโลกออนไลน์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ภาพรวมความรู้สึกของคนไทยนั้นไม่มีใครเห็นดีเห็นงามกับเรื่องนี้แน่นอนในส่วนที่เป็น ความเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) ความเห็นเชิงทั่วไป (Neutral Sentiment) และความเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) ไปในทิศทางเดียวกันหมดทั้งที่ออกมาตำหนิเรื่องการรัฐบาลที่ไม่แก้ปัญหา และออกมาขอโทษต่อชาวโรฮิงญาและผู้ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ ต่อไปเรามาเจาะลึกลงไปในแต่ละความรู้สึกกันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 7% ออกมาชื่นชมนักข่าวที่นำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้เห็น
Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 24% บอกว่าไม่อยากเห็นเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกต่อไป และประชาชนรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรับชาวโรฮิงญาเข้ามาอยู่ในไทย
Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 69% ออกมาตำหนิรัฐบาลที่จงใจปิดความจริง ไร้ความเมตตาต่อมนุษย์ด้วยกัน รวมถึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง โกหกประชาชน อีกทั้งยังมีการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมจากการสอบสวนคดีการค้ามนุษย์อีก กลายเป็นว่าประเทศไทยคนดีอยู่ยาก หมดศรัทธา หดหู่ เศร้าใจกับการกระทำของรัฐบาลไทย
ต่อมาเรามาเจาะลึกประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์
จากข้อมูลที่ Real Smart ได้มากนั้นจะเห็นได้ชัดว่าคนไทยสนใจประเด็น “ฐปณีย์พบชาวโรฮิงญา” เป็นพิเศษ หลังจากที่นักข่าวคนนี้ได้เข้าไปทำข่าวในสถานที่จริงที่ชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ นำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้เห็น ที่นี้มาเจาะลึกความรู้สึกของคนไทยในประเด็นนี้กัน
“ฐปณีย์พบชาวโรฮิงญา” โดยที่ Posive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 7% ที่กล่าวชื่นชมนักข่าวที่มีความสามารถนำเสนอข่าวข้อเท็จจริงให้ผู้คนได้เห็น และ Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 27% ออกมาแสดงความเสียใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา ในส่วนของ Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 66% ออกมาตำหนิการทำงานของรัฐบาล และนักการเมืองบางส่วนที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ไม่มีชอบธรรม ปกปิดข้อมูลบางส่วนไว้ และประเทศไทยเป็นประเทศค้ามนุษย์โดยตรง ไม่มีความเมตตาต่อมนุษย์ด้วยกัน
Top 3 on Facebook Engagement
โดยทั้ง 3 อันดับแรกที่ได้ Engagement สูงนั้นมีฐานผู้ติดตามที่เป็นคนรุ่นใหม่ รวมถึงเป็นกลุ่มที่ติดตามกระแสต่าง ๆ ในโลกออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ ทั้ง 3 Facebook page ได้โพสต์รายงานข่าว สรุปประเด็น และอัปเดตสถานการณ์การค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้คนให้ความสนใจจำนวนมาก
Top 3 on YouTube Engagement
ในส่วนของ YouTube ยังเป็นอีกช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสำหรับเสพข่าวสารต่าง ๆ ซึ่ง ทั้ง 3 YouTube Channel เป็นสำนักข่าวชื่อดังระดับประเทศที่ได้ออกมารายงานข่าวถึงคดีการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นที่สนใจของคนไทยทำให้มียอดคนดูที่สูง
Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นการค้ามนุษย์นั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนจะเป็น #ค้ามนุษย์ #ค้ามนุษย์โรฮิงญา #ขบวนการค้ามนุษย์ #มือปราบค้ามนุษย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ประเด็นนี้ได้รับความสนใจไปทั่วโลกในเรื่องของการค้ามนุษย์ในประเทศไทย หลายประเทศจับดูอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินการของรัฐบาลกับเรื่องนี้จะทำอย่างไรต่อไป แก้ปัญหาอย่างไร คนไทยอย่างเราคงต้องติดตามกันต่อไป ครั้งหน้า Real Smart จะมาใช้ Data เล่าให้ฟังอีก
หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตามเพจกันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น