เห็นด้วยหรือไม่? PDPA ในมุมมองคนไทยผ่าน Social Listening
กฎหมาย PDPA คืออะไร? ทำไมถึงต้องมี? และคำถามอื่น ๆ อีกมากมายที่หลายคนยังคงสงสัยอยู่ รวมถึงหลายคนยังไม่เข้าใจกฎหมาย PDPA เนื่องจากคำอธิบายที่ออกมานั้นเข้าใจได้ยาก หรือไม่ชัดเจน ในเรื่องของข้อกำหนดของกฎหมายจนทำให้เกิดการเข้าใจผิด ๆ กัน เช่น ห้ามถ่ายรูปติดคนอื่นเลย การติดตั้งกล้องวงจรปิดต้องติดป้ายให้ชัดเจน เป็นต้น ทำให้กลายเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียขึ้นมาอย่างที่ทุกคนได้เห็นกัน ไม่ว่าเป็นรูปถ่ายเบลอทั้งรูป รูปถ่ายที่เปลี่ยนหน้าทุกคนให้กลายเป็น Emoji หรือหน้าของคน ๆ หนึ่งทั้งหมด
RealSmart จึงได้รวบรวมข้อมูลผ่าน Social Listening เพื่อดูมุมมองของคนไทย ความรู้สึกต่อกฎหมาย PDPA รวมถึงประเด็นต่าง ๆ ที่ได้รับความสนใจ มาเล่าให้ทุกคนได้เข้าใจกันว่าคนไทยคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ มาเริ่มกันเลย
📌อ่าน “สรุปกฎหมาย PDPA เข้าใจได้ใน 1 นาที” ได้ที่ https://www.facebook.com/realsmart.co.th/photos/a.192430807550623/5009959205797735/
จากข้อมูลที่ Real Smart เก็บรวบรวมมาได้นั้นพบว่าคนไทยในโซเชียลมีมุมมองอยู่ 2 แบบ คือ เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ที่นี้เรามาดูกันว่าแต่ละมุมมองเป็นอย่างไร
ในส่วนแรกกับคนไทยที่เห็นด้วยกับกฎหมาย PDPA มองว่ากฎหมายนี้มีไว้เพื่อคุ้มครอง และปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชนจากบริษัทต่าง ๆ ที่มีข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไว้ใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กร แต่กลับกลายเป็นว่าหลายคนมองเป็นเรื่องไร้สาระ
ต่อมาคนไทยที่รู้สึกไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย PDPA บอกว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย PDPA เพราะไม่สามารถใช้ได้จริงในสังคมไทย หลายคนรู้สึกกังวลเนื่องจากไม่เข้าใจกฎหมาย PDPA มากพอ อีกทั้งกฎหมายเอื้อให้คนทำผิดมากไปถ้าจะถ่ายคลิปคนร้าย คนร้ายสามารถเอาไปฟ้องได้
ซึ่งจากภาพรวมของความรู้สึกของคนไทยนั้นทุกคนจะเห็นได้ถึงความกังวล ความสับสนงุนงงในกฎหมาย PDPA ที่คนไทยยังคงมีอยู่ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้
เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์
จากข้อมูลที่ RealSmart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์ คือ ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ คนไทยรู้จักกฎหมาย PDPA? ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน
“ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”
พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 28% มองว่าประชาชนหลายคนเห็นด้วยกับกฎหมาย PDPA ที่คุ้มครองความเป็นส่วนตัวได้ดี
ต่อมาความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 37% มองว่ากลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดคือกลุ่ม YouTuber และกลุ่มที่สร้างคอนเทนต์ รวมถึงมีประชาชนหลายคนที่ต้องการเรียนรู้เรื่องกฎหมาย PDPA ด้วย
สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 35% บอกว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย PDPA เพราะไม่สามารถใช้ได้จริงในสังคมไทย
“คนไทยรู้จักกฎหมาย PDPA?”
ในส่วนของความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 22% บอกว่าเห็นด้วยที่คนไทยต้องเข้าใจถึงกฎหมาย PDPA เพื่อระวังการละเมิดสิทธิของคนอื่น
ต่อมาความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 45% มองว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจกฎหมาย PDPA อย่างชัดเจน หน่วยงานรัฐควรให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายนี้มากกว่านี้
สุดท้ายความเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 33% บอกว่ากฎหมาย PDPA มีไว้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน แต่กลายเป็นว่าหลายคนมองเป็นเรื่องไร้สาระ
ในส่วนของ Top Engagement พบว่าช่องทางที่คนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นกฎหมาย PDPA นั้นมีความหลากหลายพอสมควรไม่ว่าจะเป็นช่อง YouTube Facebook และ Twitter ซึ่งโพสต์หรือคลิปดังกล่าวที่ได้รับ engagement สูงนั้นมีเนื้อหาอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA
Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นกฎหมาย PDPA นั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ #PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ไว้ครั้งหน้า RealSmart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตาม RealSmart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ RealSmart เท่านั้น