Skip links

Data-Driven Insight ทุกคนรู้สุขภาพสำคัญ แต่..ทำไม? พฤติกรรมกลับสวนทาง

ทำไม? Gen X รักสุขภาพ แต่กลับออกกำลังกายน้อยที่สุด
ทำไม? Gen Y รักสุขภาพ แต่ดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด
ทำไม? Gen Z ไม่ได้ใส่ใจกับสุขภาพ แต่เป็นกลุ่มที่เล่นกีฬามากที่สุด

นั่นซิ! ทำไมกันนะ? 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ’สุขภาพ’ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนในทุกช่วงวัย แต่! ทำไมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนส่วนใหญ่ ถึงสวนทางกับความเชื่อนั้น? วันนี้  RealSmart โดยทีม Data Driven & Reserch จะมาไขข้อข้องใจ ‘ทุกคนรู้ สุขภาพสำคัญ แต่ ทำไม? พฤติกรรมกลับสวนทาง’ พาไปหาคำตอบจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Integration) บนโลก Online และ Offline พบว่า ไฮไลท์ ภาพรวมข้อมูลบนโลก Online สะท้อน มุมมองด้านสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ 

3 เรื่องแรก เมื่อพูดถึงเรื่อง ‘สุขภาพ’ มุมมองการรักษาความมั่นคงในชีวิตที่คนจะนึกถึง 
1) การตรวจสุขภาพ
2) ประกันสุขภาพ  และ
3) การดูแลสุขภาพจิต

คนส่วนใหญ่มักพูดถึง การใช้เวลา ‘ช่วงวันธรรมดา’ ในการออกกำลังกาย
คนพูดถึง ‘สุขภาพจิต’ มากขึ้น นับเป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของการกล่าวถึงเรื่อง ’สุขภาพ’ ในโลกออนไลน์

อ้างอิง: คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “สุขภาพ”  จาก Google Trend 
ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือนที่ผ่านมา
อ้างอิง: กราฟแสดงการค้นหาคำ ‘การออกกำลังกาย’ พุ่งสูงขึ้นในช่วงวันธรรมดา จาก  Google Trend
ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือนที่ผ่านมา
ภาพ Word Cloud แสดงคำที่เกี่ยวข้องเมื่อค้นหาคำว่า ‘สุขภาพ’
อ้างอิงข้อมูลจาก Social Listening Tools

อย่างไรก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่จะมีแนวคิดรักสุขภาพเหมือนกัน แต่! การตีความ หรือวิธีการในการดูแลสุขภาพของคนแต่ละ Generation กลับแตกต่างตามช่วงอายุ ประสบการณ์ และวิถีชีวิต ถ้าลองวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม จากการรวบรวมข้อมูล Offline ทำให้เห็นภาพรวมอินไซด์ เรื่องสุขภาพ และเข้าใจวิถีชีวิตของคนแต่ละช่วงวัยได้มากยิ่งขึ้น

วัยเก๋า Gen X (เกิดช่วงปี ค.ศ.1965-1980)*  พบว่า คน Gen X ส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงานมีเวลาน้อย แต่ เป็นวัยที่ให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพที่สุด ทั้งสุขภาพของตนเองและของครอบครัว แต่เนื่องด้วยช่วงอายุที่มากขึ้น ทำให้ประสบปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น คน Gen X จะคอยสำรวจ และระมัดระวังสุขภาพของตนเองและครอบครัวอยู่เสมอ โดยให้ความสนใจเรื่องการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง, งดเว้นทานอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม และเลือกพบแพทย์แผนปัจจุบันทันทีหากรู้สึกมีอาการป่วย ไม่สบายขึ้นมา คิดเป็น 68%  มากกว่า คนเจนเนอเรชั่นอื่นๆ Gen Y 56% และ Gen Z 38%

นอกจากนี้ ด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นในฐานะผู้นำของครอบครัวทำให้ คน Gen X มีเวลาที่จำกัด ส่งผลให้คน Gen X ใช้เวลาออกกำลังกายได้น้อยลง โดยคน Gen X กว่า 51% จะเลือกใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่บ้าน เช่น จัดบ้าน ทำสวน และ นั่งสมาธิ ต่างจากคน Gen Y และ Gen Z ที่สนใจในกิจกรรมดังกล่าวเพียง 31% และ 11% ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น คน Gen X กว่า 23% เลือกดูแลสุขภาพด้วยวิธี การนวดหรือการใช้สมุนไพรจากแพทย์ทางเลือก เข้ามาเสริมในการดูแลสุขภาพ ต่างจากคนเจนเนเรชั่น อื่นๆ เช่น Gen Y 19% และ Gen Z 8% จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า การสื่อสารการตลาดเพื่อให้เข้าถึงคน Gen X ธุรกิจต้องคำนึงถึงการตอกย้ำความมั่นใจด้วยภาพลักษณ์สินค้าหรือบริการที่มุ่งเน้นคุณสมบัติด้านผ่อนคลาย สงบ เสริมสร้างสุขภาพกาย สุขภาพใจ ให้แข็งแกร่งยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี

Gen Y วัยรุ่นยุคมิลเลนเนียล (เกิดช่วงปี ค.ศ.1981-1995)*  พบว่า คนกลุ่ม Gen Y ตีความเรื่องสุขภาพในแง่ Wellness หรือ ความสุขสมบูรณ์ของสุขภาพในองค์รวม สุขภาพที่ดีจะต้องเริ่มต้นจากภายใน รวมถึงคน Gen Y มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งยังใส่ใจ และให้ความสำคัญเปิดรับเรื่องสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

โดยประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า คน Gen Y กว่า 21% ชอบทำกิจกรรมนอกบ้าน พบปะสังสรรค์เข้าสังคมในเวลากลางคืน และดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า คน Gen Z 18% และ Gen X 9% ตามลำดับ รวมถึงจากการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบว่า Gen Y 6% ชอบทำกิจกรรมที่ดูแลตัวเอง เช่น โยคะ สปา มากกว่าคน Gen X 4% และ Gen Z 3% แสดงให้เห็นว่า คน Gen Y ให้คุณค่ากับการทำกิจกรรมโดยเฉพาะสิ่งที่เขาให้ความสนใจร่วมกับสังคม หรือกลุ่มเพื่อน ดังนั้นการออกแบบประสบการณ์เพื่อสื่อสารการตลาดกับคนกลุ่ม Gen Y ควรคำนึงถึงเรื่องไลฟ์สไตล์ และเน้นสร้างการมีส่วนร่วมเชื่อมโยงกับสังคม กลุ่มเพื่อนฝูง เพื่อดึงดูดความสนใจในสินค้าและบริการในระยะยาวได้

Gen Z วัยรุ่นยุคใหม่โตมากับเทคโนโลยี  (เกิดช่วงปี ค.ศ.1996-2012)* ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า กลุ่มวัยรุ่น Gen Z เป็นวัยที่เข้าถึง เข้าใจ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น สมาร์ทโฟน และ social media ได้รวดเร็วกว่ากลุ่มคน Gen อื่นๆ ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ตอบรับต่อสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลจากสังคมรอบตัวได้เร็วกว่ามาก จุดที่น่าสนใจคน Gen Z มีความกังวลเรื่องสุขภาพน้อยกว่าคนเจนเนเรชั่นอื่นๆ เพราะมีความเชื่อ และมั่นใจในตนเองว่าตนเองเป็นคนที่มีสุขภาพดีไม่ค่อยป่วย โดยคน Gen Z กว่า 33%  เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสนใจในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมาเป็นคน Gen Y 31% และคน Gen X 26% ยิ่งไปกว่านั้นคน Gen Z กว่า 41% ยังชอบและสนใจในการเล่นกีฬามากกว่าคน Gen Y 20% และ Gen X 6% ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนกลุ่ม Gen Z เป็นวัยที่ชอบเข้าสังคมพบปะเพื่อนฝูงเป็นประจำ มีเวลาว่างมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ทำให้มีโอกาสชักชวนเพื่อนฝูงทำกิจกรรมร่วมกันได้ง่าย ซึ่งการสื่อสารกับคน Gen Z  ต้องสร้าง Storytelling เล่าเรื่องผ่าน Content ที่กำหนด Key Message ของการสื่อสารให้ชัดเจนเชื่อมโยงให้เห็นไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี นำเสนอผ่านช่องทางแพลตฟอร์มต่างๆ ตามที่กลุ่มคน Gen Z ให้ความสนใจ

มาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าการนำข้อมูลทั้งจากบนโลกออนไลน์ และ ออฟไลน์ มาวิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญที่จะได้ Insight เชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมอย่างแท้จริง  ทั้งนี้ มุมมองข้อมูลที่นำการวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลบนโลกออนไลน์ จะช่วยให้เห็นภาพรวมวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงบ่อย เทรนด์ความสนใจของกลุ่มคนแต่ละเจนเนเรชั่น ในขณะเดียวกันข้อมูลจากมุมมองของแหล่งข้อมูลออฟไลน์ จะช่วยให้เราเห็นภาพข้อมูลเชิงลึก สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ได้ว่า คนที่พูดถึงประเด็นเรื่องนั้นเป็นใคร มีพฤติกรรมหรือความเห็นแตกต่างจากโลกออนไลน์อย่างไร โดยเมื่อบูรณาการข้อมูลทั้งสองแหล่งมาวิเคราะห์ร่วมกันแบบ OMO (Online Merge Offline) จะช่วยให้ออกแบบกลยุทธ์การสื่อสาร และสร้างประสบการณ์เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมทุกมิติ

ด้วยความเชื่ยวชาญของทีม Data Driven & Reserch พร้อมเป็นที่ปรึกษาช่วยยกระดับกลยุทธ์การพัฒนาสินค้าและบริการ ต่อยอดการเติบโตขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้า มั่งคง อย่างยั่งยืน สนใจสอบถามเพิ่มเติม ที่ https://www.realsmart.co.th/th/contact-us/

*อ้างอิง ข้อมูลการแบ่งช่วง Generation จาก เจาะเทรนด์โลก 2022 โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) READY SET GO, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน), 2564.