Skip links

คล้ายแต่ไม่เหมือน พ.ร.บ. คู่ชีวิตในมุมมองของคนไทย ผ่าน Social Listening

ล่าสุดทาง ครม. ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต สำหรับการจดทะเบียนสมรสให้กับเพศเดียวกันแล้ว นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องที่ดีก็จริง แต่ปัญหาตอนนี้ที่คนถกเถียง และเกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างมากมาย ก็คือ พ.ร.บ. คู่ชีวิตไม่ครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เช่น สวัสดิการทางสังคม การลดหย่อนภาษี และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงได้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในโลกโซเชียลเพราะความคล้ายกัน แต่ไม่เท่ากันระหว่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตกับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ทำให้กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้างว่า “ประเทศไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันจริงๆ หรือไม่?”

Real Smart ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ผ่าน Social Listening ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก มุมมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเล่าให้ทุกคนได้เข้าใจว่าคนไทยคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ มาเริ่มกันเลย

จากข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening เกี่ยวกับประเด็น พ.ร.บ. คู่ชีวิตพบว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคนไทยในโลกออนไลน์ไปในทิศทางเดียวกันหมด คือ ไม่เห็นด้วยกับความไม่เท่าเทียม

หลายคนต้องการเห็นความเท่าเทียมในสังคมอยากให้ยกเลิก พ.ร.บ. คู่ชีวิต อยากให้ใช้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมแทน เพราะว่าทุกเพศควรได้รับความเท่าเทียม อีกทั้งคู่สมรสภายใต้ พ.ร.บ. คู่ชีวิตไม่มีทายาทหรือผู้สืบทอดทรัพย์สินก็จะตกเป็นของรัฐ ส่วนเงินในธนาคารก็จะตกเป็นของธนาคารทำให้หลายคนคิดว่าไม่ควรมีกฎหมายนี้เลยดีกว่า

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์ คือ และ พ.ร.บ. คู่ชีวิต และ  สิทธิเสรีภาพ พ.ร.บ. คู่ชีวิต ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

พ.ร.บ. คู่ชีวิต

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 10% ประชาชนบางกลุ่มเห็นด้วยและสนับสนุน พ.ร.บ.คู่ชีวิต 

ต่อมาความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 33% ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยากให้มีกฎหมาย พ.ร.บ. คู่ชีวิต อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิใหม่ให้มีความเท่าเทียมกัน

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 57% ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนกฎหมาย พ.ร.บ. คู่ชีวิต และตำหนิรัฐบาลที่ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย รวมถึงไม่เคยฟังเสียงจากประชาชนเลย จะออกกฎหมาย พ.ร.บ. คู่ชีวิตมาทำไมถ้าสิทธิไม่เท่าเทียมกัน

“สิทธิเสรีภาพ พ.ร.บ. คู่ชีวิต” 

ไม่พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) แม้แต่คนเดียว

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 59% ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้ออกกฎหมายที่เท่าเทียมกันไม่แบ่งแยก อยากให้แก้ไข พ.ร.บ. คู่ชีวิตใหม่

สุดท้ายความเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 41% ประชาชนออกมาตำหนิรัฐบาลที่ออกกฎหมายไม่คิดหน้าคิดหลังไม่ศึกษาข้อมูลกันก่อนเลย ไม่มีความเท่าเทียมเลยใน พ.ร.บ. คู่ชีวิต

ในส่วนของ Top Engagement พบว่าช่องทางที่คนไทยให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็น พ.ร.บ. คู่ชีวิตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นช่องทาง Facebook เป็นหลักและยังเป็นช่องทางในการติดตามข่าวสารต่าง ๆ ของคนไทย และ Facebook  ที่ได้รับ engagement สูงนั้นจะเป็นกลุ่มคนที่ออกมาสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ และกลุ่ม LGBTQIA+

Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นกฎหมาย PDPA นั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่เป็นภาษาไทย #สมรสเท่าเทียม #พรบคู่ชีวิต  #พรบคู่ชีวิตไม่เท่ากับสมรสเท่าเทียม  และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน  

หลังจากนี้เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าท้ายที่สุดแล้ว กฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิตจะถูกปรับเปลี่ยนสิทธิต่าง ๆ ตามที่ประชาชนเรียกร้องความเท่าเทียมในสิทธิต่าง ๆ ให้เหมือนกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

ไว้ครั้งหน้า Real Smart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น