ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบินกับมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening
ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นสิ่งแรกที่ทุกสายการบินให้ความสำคัญและต้องมาก่อนสิ่งอื่นใดเช่น การบริการ เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดในประเทศไทยที่เครื่องบินของสายการบินหนึ่งลื่นไถลออกนอกรันเวย์ โชคดีไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น Real Smart ได้เก็บข้อมูลอันน่าสนใจที่สะท้อนความคิดเห็นของคนไทยในโลกออนไลน์ให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางโดยเครื่องบินจากเหตุการณ์นี้ มาติดตามกัน
จากข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening พบว่าคนไทยในโลกออนไลน์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ที่แตกต่างออกไป
คนบางส่วนมองว่าพื้นรันเวย์ของสนามบินนั้นไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ดังนั้นควรบำรุงรักษาทุก ๆ เดือน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ควรออกมาอธิบายสาเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด อุบัติเหตุครั้งนี้ยังโชคดีที่ไม่มีใครเป็นอะไรต้องชื่นชมนักบินที่สามารถบังคับเครื่องบินได้อยู่ แต่ยังมีเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่เข้าช่วยเหลือผู้โดยสารนั้นล่าช้า ควรรีบแก้ปัญหาเหตุการณ์ตรงหน้าให้เร็วกว่านี้
เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์
จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางโดยเครื่องบินจากเหตุการณ์เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบิน และ การช่วยเหลือผู้โดยสารขณะเกิดกรณีฉุกเฉิน ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน
“ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบิน ”
พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 8% มองว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นสะดวกสบาย เดินทางได้รวดเร็ว
ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 42% บอกว่าอยากให้เข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ต้องมีแผนการทำงานที่ชัดเจนในการช่วยเหลือ รวมถึงอยากให้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสนามบินปฏิบัติตามกฎมาตรฐานสากลให้ได้
สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 50% ตำหนิถึงมาตรฐานการบินในบ้านเราที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขเรื่องการทำงานในสนามบินที่ไม่ได้มาตรฐานสากล ปล่อยปละละเลยไม่สนใจผู้โดยสาร
“การช่วยเหลือผู้โดยสารขณะเกิดกรณีฉุกเฉิน”
พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 6% ชื่นชมนักบินที่บังคับเครื่องบินได้ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 39% การเข้าช่วยเหลือต้องประเมินสถานการณ์ก่อนออกคำสั่งให้อพยพได้ อยากให้เจ้าหน้าที่สนามบินเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน
สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 55% หลายคนตำหนิเจ้าหน้าที่สนามบินที่เข้าช่วยเหลือผู้โดยสารช้านานเป็นชั่วโมง และตำหนิเจ้าหน้าที่ที่ขาดประสบการณ์ไม่มีการพูดคุยถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นปล่อยให้ผู้โดยสารกลัว และกังวล
ในส่วนของ Top Engagement post พบว่า YouTube Facebook และ Twitter ยังคงเป็นช่องทางที่คนไทยติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วทำให้มี Engagement ที่สูง โดยเฉพาะสำนักข่าวไทยรัฐ และสรยุทธ ได้รับ engagement ที่สูงเนื่องจากการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอด
ไว้ครั้งหน้า Real Smart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน Real Trend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น