Walmartกับการใช้ Data จนขยายสาขามากกว่า 10,000 สาขา ทำได้อย่างไร?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Data (ข้อมูล)ในยุคปัจจุบันนั้นถูกพูดถึงในแวดวงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อไหร่ที่เราได้ยินคำว่า Data เราต่างคิดเสมอว่ามันต้องเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก
เบื้องต้นอยากให้ทุกท่านลองปรับมุมมองกับใหม่เกี่ยวกับ Data กันก่อน Data ที่เราพูดๆ กันมันไม่ได้ยาก หรือเข้าใจได้ยากอย่างที่ใครๆคิด Data จริงๆแล้วต่างก็อยู่รอบๆ ตัวเรา อยู่ในชีวิตประจำวันของเราเองทั้งนั้น ในทุกบริษัท ทุกอุตสหากรรมต่างเก็บ สิ่งที่เรียกว่า “Data” กันอย่างไม่รู้ตัว
อาทิเช่น ชื่อ – นามสกุล, E-mail, เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่สิ่งของที่ลูกค้าแต่ละคนซื้อ หรือหน้าร้านเอง สินค้าชิ้นไหนที่ขายดีที่สุด ขายดีช่วงเวลาไหนเอง ต่างก็เป็น Data ที่แต่ละอุตสหกรรมต่างเก็บไว้เป็นประจำอยู่แล้ว แต่หากใคร ยังไม่เห็นภาพวันนี้เรายกกรณีศึกษาของยักษ์ใหญ่ชื่อดังในวงค้าปลีกอย่าง วอลมาร์ท (Walmart) มาเล่าให้ทุกท่านฟังกัน
หลายท่านอาจพอคุ้นหูกับ วอลมาร์ต ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของประเทศสหรัฐฯ ที่มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 10,000 สาขา พร้อมกับจำนวนข้อมูลที่มหาศาล วอลมาร์ต ถึงกับจัดตั้งศูนย์ที่เรียกว่า “Data Café” ที่เป็นที่เก็บข้อมูลจาก 10,000 สาขาทั่วโลก มาไว้ที่เดียวกัน แล้วส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นไปยังทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
แล้ว วอลมาร์ต ใช้ประโยชน์จาก Data ที่ว่านั้นอย่างไร?
1.สร้าง Customer experience (ประสบการณ์ของผู้บริโภค)
จากข้อมูลทั้งหมดที่มีทางวอลมาร์ท นำมาวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนขายดี สิ่งไหนควรถอดออกจากหน้าร้าน หรือแม้แต่การจัดวางหน้าร้านเองก็ตาม ทำเลไหนที่ควรตั้งสินค้าชนิดไหน หน้าเคาเตอร์คิดเงิน ควรว่าสินค้าชนิดใดเพื่อให้ลูกค้าเห็นได้ชัด และเกิดความสนใจที่จะตัดสินใจซื้อได้ไว และง่ายมากขึ้น ทั้งหมดล้วนผ่านการวิเคราะห์มาจาก Data ทั้งสิ้น ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการสต๊อกสินค้า และสามารถเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากยิ่งขึ้น
2.Order sourcing (การจัดหาสินค้า) และ On-Time Delivery Promise (การขนส่งที่ตรงเวลา)
ทาง วอลมาร์ต ได้ใช้ข้อมูลที่มีในการวิเคราะห์ การสั่งสินค้า การจัดหาสินค้านั้นควรเลือกสั่งจาก Supplier (ผู้ผลิต) รายไหนดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด และถูกใจผู้ซื้อมากที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค E-commerce ความรวดเร็ว และสะดวกสบายถือเป็นจุดสำคัญอันดับต้นๆ ฉะนั้นวอลมาร์ต จึงนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการคำนวณระยะเวลาในการจัดส่ง ส่งจากสาขา หรือที่ไหนถึงจะได้ไว เร็ว และคุ้มค่ามากที่สุด
3.Packing optimization (การเพิ่มประสิทธิภาพของการบรรจุ)
การลดเวลา หรือการย่นเวลาถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ กับธุรกิจ ฉะนั้นการเสียเวลากับการเลือกขนาดของการบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งให้ลูกค้า หรือการวางแผน การคำนวณการจัดวางในแต่ละบรรจุภัณฑ์ให้ดี และประหยัด คุ้มค่าที่สุดนั้น ถือเป็นเรื่องที่ยาก และเท่ากับการเสียต้นทุนทั้งเวลา และงบประมาณเพิ่มมากขึ้นไปอีก วอลมาร์ต เลยใช้ Data ที่มีสร้างระบบ Box Recommendation (การแนะนำขนาดกล่อง) เพื่อลดปัญหา ลดต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ เป็นระบบในการแนะนำการบรรจุสินค้าลงกล่อง ให้พอดีควรทำอย่างไรมาช่วยพัฒนาองค์กรให้ดี และได้มาตรฐานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดข้อโต้แย้งในใจว่า เขาเป็นบริษัทใหญ่โต มีต้นทุนมหาศาล ก็ทำได้สิ ให้ตอบตามตรงก็ต้องบอกว่า “ใช่” แต่ลองมองกันดีๆ ข้อมูลที่ทาง วอลมาร์ต ลองหยิบมาปรับใช้นั้น ธุรกิจของทุกๆท่านเองมีเก็บข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วหรือไม่? แล้วมันจะไปยากอะไรหากเราลองนำข้อมูลเหล่านั้นมาลองปรับใช้กับธุรกิจของทุกท่านดู การเสียเวลาลงทุนเก็บ Data แต่ไม่ลองนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว