โรคฝีดาษลิงระบาดกับความกังวลของคนไทยผ่าน Social Listening
“โรคฝีดาษลิง” ทุกคนอาจจะได้ยินหรือได้เห็นจากข่าวมากมายในตอนนี้ หรือใครหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรก แต่ที่จริงแล้วโรคนี้เคยระบาดมาแล้วเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน โดยพบได้ในแถบทวีปแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก สาเหตุเกิดจากการแพร่เชื้อจากลิงสู่คน โดยอาการคล้ายกับโรคไข้ทรพิษ และอีสุกอีใส ซึ่งในตอนนี้โรคฝีดาษลิงเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อในหลายประเทศ และเริ่มแพร่กระจายไปตามทวีปต่าง ๆ และทาง WHO ประกาศให้ทั่วโลกทำการเฝ้าระวังมากขึ้น ทำให้คนไทยกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงที่อาจจะเข้ามาสู่ประเทศไทยได้
Real Smart จึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนของความคิดเห็น ความรู้สึก ประเด็นที่คนให้ความสนใจ และอื่น ๆ ผ่าน Social Listening ในเรื่องความกังวลของคนไทยกับโรคฝีดาษลิง มาเล่าให้ทุกคนได้เข้าใจว่ามุมมองของคนไทยเป็นอย่างไร มาเริ่มกันเลย
ในส่วนของความคิดเห็นของคนไทยในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกันเกือบทั้งหมด ซึ่งเกือบทุกคนบอกว่าไม่อยากให้โรคฝีดาษลิงเข้ามาแพร่เชื้อในประเทศไทย อยากให้เจ้าหน้าที่คอยคัดกรองผู้เดินทางเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด และมีอีกหลายคนวิตกกังวล หวาดกลัว และหดหู่ใจในการใช้ชีวิตท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคใหม่ ๆ รวมถึงอยากให้ประชาชนได้รับวัคซีนต้านโรคฝีดาษลิง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน
เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์
จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์ คือ โรคฝีดาษลิงกับความวิตกกังวลของคนไทย และ มาตรการการรับมือโรคฝีดาษลิงในไทย ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน
“มาตรการการรับมือโรคฝีดาษลิงในไทย”
พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 4% หลายคนเชื่อว่าหมอไทยเก่งสามารถรักษาโรคฝีดาษลิงได้แน่นอน
ต่อมาในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 60% ที่มองว่าอีกไม่นานโรคฝีดาษลิงจะเข้าแพร่ระบาดในประเทศไทยแน่นอน อยากให้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง และอยากให้ควบคุมนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยอย่างเข้มงวด
สุดท้ายความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 36% หลายคนมองว่ารัฐบาลยังไม่มีนโยบายรองรับการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนทำให้ประชาชนต้องดูแลตัวเองจากโรคร้ายต่าง ๆ
พบว่า Top Engagement เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นช่องทาง Facebook YouTube และ Twitter ที่แต่ละแพลตฟอร์มจะมีความแตกต่างกันอยู่บาง ในส่วนของช่องทาง Facebook ที่ได้รับ Engagement สูงนั้นเป็นนักข่าว สำนักข่าว และคนดังที่ดูน่าเชื่อถือในด้านนี้
Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นโรคฝีดาษลิงนั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่เป็นภาษาไทย #กรมควบคุมโรค #โรคฝีดาษลิง #ฝีดาษลิง และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ไว้ครั้งหน้า Real Smart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น