ฟังเสียงคนไทยกับประเด็นหมูแพงผ่าน Social Listening
ต้อนรับปีใหม่ด้วยราคาหมูที่แพงขึ้นจนน่าตกใจ สาเหตุเกิดมาจากโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ที่ระบาดในหมูจน ซึ่งเกษตรกรไทยทยอยปิดกิจการ หรือลดจำนวนการเลี้ยงลง ต่อเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เนื้อหมูขาดตลาด ไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภคจนทำให้ราคาหมูยิ่งแพงขึ้นไปอีก แถมยังมีคาดการณ์ว่าจะเป็นแบบนี้ไปจนถึงกลางปี หรือไม่อาจถึงสิ้นปีเลยก็ได้
Real Smart ใช้ Social Listening Tools เพื่อดูความคิดเห็น มุมมอง และความรู้สึกต่าง ๆ ของคนไทยโซเชียลมีเดียว่าเป็นอย่างไร อีกทั้งสนใจในประเด็นไหนบ้าง เราจะมาเจาะลึกลงไปทีละเรื่องกัน ตั้งแต่ Timeline ว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่จนไปถึง #Hashtag ยอดฮิต ว่าแล้วเรามาเริ่มกันเลย
จากภาพรวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่ากราฟค่อย ๆ ขยับตัวในช่วงแรก และเริ่มดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ ไต่ลงตั้งแต่ช่วงกลาง Timeline ซึ่งในช่วงแรกที่กราฟเริ่มมีการขยับตัวคือวันที่ 8 มกราคม 2565 มี Twitter ส่วนตัวออกมา tweet ถึงข้อความความในใจข้อพ่อค้าแม่ค้าที่ขายหมูที่ออกมาอธิบายว่าทำไมพวกเขาถึงต้องขายในราคาที่สูงขึ้น และก็ขายได้น้อยลงไปอีก ต่อมาในวันที่ 9 มกราคม 2565 กราฟเริ่มขยับตัวสูงขึ้นอีกหลังจากที่ Facebok page : PPTV 36 โพสต์รายงานข่าวเกี่ยวกับร้านอาหารที่มีเมนูที่ใช้หมูขอเพิ่มราคาเมนูนั้น ๆ ขึ้นอีก จนทำให้บางร้านไม่อาจแบกรับราคาวัตถุดิบไหวจนต้องลดการสั่งวัตถุดิบลงไป
ในวันที่ 10 มกราคม 2565 กราฟดีดตัวพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วจากประเด็นหมูแพง และได้ Facebook page : The Standard โพสต์เรื่องหมูแพงแก้ไม่ถูกจุด เมื่อนักวิชาการส่งหนังสือยืนยันเรื่องพบโรคอหิวาท์แอฟริการะบาดในหมู แต่กรมปศุสัตว์บอกไม่เคยเห็นหนังสือที่รายงานมาก่อน และในวันที่ 11 มกราคม 2565 กราฟพุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อ Twitter ส่วนตัวออกมา Tweet ถึงการที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกมาบอกว่า ATK ราคาไม่แพงเพียง 35-40 บาท ซึ่งมันสวนทางกับราคาที่ขายจริงที่ประชาชนพบเจอ อีกทั้งในส่วนของ ครม. ได้เคาะงบประมาณอัดงบกว่า 574 ล้านบาทเพื่อแก้ปญหาหมูแพงในประเทศ และหลายสำนักข่าวได้พูดถึงผลกระทบของหมูแพงที่ส่งผลให้เนื้อสัตว์ หรือวัตถุดิบอื่น ๆ แพงขึ้น
ต่อมากราฟไต่ระดับลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันที่ 12 – 14 มกราคม 2565 ซึ่งในวันที่ 12 มกราคม 2565 ทาง Facebook page : PPTV 36 โพสต์รายงานข่าวเกี่ยวกับพบซากหมูจำนวนมากที่ถูกยัดทิ้งไว้ในโอ่งในฟาร์มหมูที่ จ.นครปฐม ที่หมูในฟาร์มติดโรค ASF และไม่กล้ารายงานไปยังกรมปศุสัตว์ เพราะกลัวโดนสั่งปิดฟาร์ม ต่อมาวันที่ 13 มกราคม 2565 ทาง Facebook page : SentangSedtee โพสต์ถึงราคาเนื้อจระเข้ที่มีราคาถูกเพียงกิโลกรัมละ 70 บาท เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคในยุคที่หมูแพง
วันที่ 14 มกราคม 2565 ได้มี Twitter ส่วนตัว Tweet ที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เคยพูดผ่านสำนักข่าว The Reporters เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลนี้ สุดท้ายกราฟก็ลดลงต่ำอีกเรื่อย ๆ
ต่อมาเรามาดูความรู้สึก (Sentiment) โดยรวมของคนไทยในโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นราคาหมูแพง
ในภาพรวมความรู้สึกเชิงบวกนั้นมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ไปในเชิงลบเกือบทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อปัญหาด้านราคา การบริหารจัดการที่ไม่ดี รวมถึงปัญหาและอื่น ๆ อีกมากมาย ต่อไปเราจะเจาะลึกลงไปในแต่ละกลุ่มความรู้สึกเพื่อดูความคิดเห็นกันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 3% ออกมาให้กำลังใจรัฐบาล เชื่อว่าแก้ไขได้แน่นอน
Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 20% บอกว่าคนไม่ทานเนื้อหมู หันไปทานเนื้อไก่และปลาแทน เนื่องจากหมูเป็นโรคระบาดทำให้ขาดแคลน ไม่พอต่อความต้องการบริโภคของผู้คน และมองว่ามีการสต๊อกเนื้อหมูไว้เยอะ ๆ แต่ปล่อยออกมาขายทีละน้อย ๆ จึงอยากให้มีมาตรการสั่งกำชับ คุมเข้ม ตรึงราคา และห้ามกักตุนเนื้อหมู
Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 67% มองว่ารัฐบาลไม่สามารถในการแก้ไขปัญหานี้ได้ ราคาหมูแพงขึ้น แต่ค่าครองชีพเท่าเดิม ประชาชนเดือดร้อนพ่อค้าแม่ค้าขายเนื้อหมูไม่ได้ หรือได้น้อยมาก ๆ และไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอีก
ต่อมาเจาะลึกประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจกันเยอะเกี่ยวกับประเด็นหมูแพง
“การกักตุนหมู”
จากข้อมูลที่ได้มาคนส่วนใหญ่แสดงความเห็นเชิงลบกว่า 77% มองว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ทำงาน ปล่อยให้เหตุการณ์นี้ขึ้นได้ยังไง ของแพงไปหมด ของกินของใช้ราคาขึ้นทุกอย่างรวมถึงมีการกักตุนหมูให้เจ้าสัวรายใหญ่อีก ทำให้พ่อค้าแม่ค้าไม่มีเนื้อหมูมาขาย อีก 23% รู้สึกเห็นใจเจ้าของฟาร์มหมู รวมถึงมองว่าถ้าหมูแพงให้หันไปทานอย่างอื่นแทน สุดท้ายไม่พบความเห็นเชิงบวกในประเด็นนี้
“ราคาเนื้อหมู”ข้อมูลที่ได้จาก Social listening นั้นจะเห็นได้ว่ามีถึง 70% ที่มองว่าราคาเนื้อหมูสูงขึ้น ทำให้คนไม่ซื้อ ยิ่งทำให้พ่อค้าแม่ค้าขาดทุน ส่วนอีก 20% บอกว่าหมูติดโรคระบาด ส่งขายเนื้อหมูขายได้น้อยทำให้ราคาหมูแพงขึ้น และอีก 10% ที่รอการแก้ไขปัญหาราคาเนื้อหมูที่แพง
Top 3 on Facebook Engagement
เพจ Facebook 2 อันดับแรกนั้นเป็นสำนักข่าวชื่อดังของไทยอย่าง ไทยรัฐนิวส์โชว์ และ PPTV HD 36 ที่รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมถึงประเด็นที่คนไทยสนใจจึงทำให้ได้รับ engagement สูง และอับดับที่ 3 เพจของ ธนวัฒน์ วงค์ไซย ที่มีฐานผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้าน ทำให้ได้รับความสนใจที่สูงด้วยเช่นกัน
Top 3 on YouTube Engagement
ในส่วนของอันดับที่ 1 อย่างสำนักข่าวมติชน ย่อมได้รับความสนใจแน่นอนจากการที่มีการพูดคุยถึงเรื่องหมูแพงโดยนักวิเคราะห์ ส่วนอันดับที่ 2 สร้างเซอร์ไพรส์เลยก็ว่าได้อย่าง YouTube Channel : LokWanNee โลกวันนี้ ที่ดำเนินรายการโดยพระพยอม ที่ออกมาพูเถึงประเด็นหมูแพงในวิดีโอดังกล่าว ส่วนอันดับที่ 3 อย่าง เจาะข่าวตื้น สายตำหนิรัฐบาลในประเด็นต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติ อีกทั้งที่มีผู้ติดตามสูงทำให้ได้รับยอด engagement ที่สูงเช่นกัน
Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นหมูแพงมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนจะเป็น #หมูแพง #แพงทั้งแผ่นดิน #โรคระบาดในหมู และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ยังไงก็คงต้องติดตามสถานการณ์นี้กันต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงราคา สถานการณ์อะไรที่จะมีแนวโน้มไปในทางบวกหรือการรับมือของรัฐบาล แล้ว Real Smart จะมาใช้ Data เล่าให้ฟังอีก
หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตามเพจกันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น